02-639-7878 ต่อ 990

เวลาทำการ จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 19.00 น.

ปิดหน้าต่างนี้
โฆษณาบน LINE
โฆษณาบน Facebook
โฆษณาบน Instagram
โฆษณาบน Google
โฆษณาบน YouTube
โฆษณาบน Twitter
โฆษณาบน TikTok
รับออกแบบเว็บไซต์ธุรกิจ
SEO ( Search Engine Optimization )
Content Marketing
การตลาดบน E-mail และ SMS
รับจ้างรีวิวสินค้า และบริการ
รับทำวิดีโอโฆษณา
โฆษณาบน Facebook Ads
บริการ ChatBot
ยืนยัน
Nipa Digital Marketing Add Line

Content Marketing Solution

หน้าหลัก
โซลูชั่น
Content Marketing Solution
บริการที่น่าสนใจ
บริการของคุณ

Always-on Content สำคัญอย่างไร

ยุคที่ดิจิตอลกลายเป็นหัวใจสำคัญในการสื่อสาร การทำความรู้จักกับกลุ่มเป้าหมายด้วย Always-on Content เป็นอีกกลยุทธ์ที่หยิบนำมาใช้ในการสื่อสาร เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคและดึงความสนใจจากกลุ่มคนเหล่านี้ให้อยู่กับแบรนด์

เทรนด์การเสพ Always-on Content ปัจจุบันผู้บริโภคไม่ได้ต้องการโฆษณาหรือคอนเทนต์ใดก็ตาม ที่ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตเขาหรือสิ่งที่เขาไม่สนใจ แต่ต้องการประสบการณ์บนโลกออนไลน์ที่ทำให้เขาสนุกสนาน ตื่นเต้น และสามารถเข้าถึงเนื้อหาที่ต้องการเสพได้ อย่างรวดเร็ว การเป็นนักเล่าเรื่องที่ดีและนำเสนอเนื้อหาที่มีคุณค่า จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์หรือแบรนด์ได้ใจผู้เสพไปได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง

Always-on Content ต่อยอดการขายได้อย่างไร?

พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีการเข้าถึงข้อมูลสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ ทำให้คอนเทนต์มีบทบาทมากขึ้น และกลายเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อกระตุ้นยอดขาย แต่การทำคอนเทนต์ให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีความเข้าใจในพฤติกรรมของลูกค้า และรู้ในข้อเท็จจริงของตลาด เช่น ช่องทางที่กำลังนิยม รูปแบบคอนเทนต์ที่ส่งผลต่อการขาย รวมถึงเส้นทางการเข้าถึงสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ หรือ Customer Journey ซึ่งมี 4 ระยะด้วยกัน คือ

Awareness

การสร้างแบรนด์ต้องทำให้เขารู้จัก และโชว์ให้เห็นว่าทำไมต้องเลือกสินค้าเรา คอนเทนต์ในช่วงนี้ควรมีเนื้อหาที่ทำให้ลูกค้าตระหนักรู้ถึงปัญหาที่เขากำลังมีอยู่

Research

เมื่อรับรู้แล้วเกิดความต้องการ สิ่งต่อมาที่ลูกค้าจะทำคือ การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า ในระยะนี้จำเป็นต้องเพิ่มระดับความเข้มข้นของคอนเทนต์ เช่น การตอบข้อสงสัยของลูกค้าที่มีเนื้อหาละเอียดมากขึ้น

Consideration

พอได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว ลูกค้าจะทำการเปรียบเทียบ และพิจารณาว่าสินค้าแบบไหนเหมาะกับเขามากที่สุด ดังนั้นการทำคอนเทนต์ช่วงนี้ จำเป็นกระตุ้นและชักชวนให้เกิดการซื้อ เช่น การรีวิว เป็นต้น

Decision

คือ ระยะสุดท้ายที่ลูกค้าตัดสินใจสั่งซื้อ อาจจะต้องนำเสนอเนื้อเกี่ยวกับช่องทางการขาย เพื่อแสดงถึงความสะดวกสบายในการให้บริการ

วิธีสร้างเนื้อหา Always-on Content 

การทำ Always-on Content ต้องรู้จัก Customer Personas หรือการกำหนดลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย โดยวิเคราะห์จากเพศ นิสัย งานที่ทำ พฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อให้รู้ว่าลูกค้าที่จะซื้อสินค้าเราเป็นคนแบบไหน ซึ่งทำให้เรารู้จักและอินกับลูกค้ามากขึ้น หลักการง่ายๆ ในการกำหนด Customer Personas คือ

Who : เขาเป็นใคร เช่น อายุ เพศ การศึกษา ตำแหน่งงาน รายได้ ที่อยู่ ครอบครัว บุคลิกภาพ และพฤติกรรม

What : อะไรคือสิ่งที่เขาต้องการ เช่น เป้าหมายในชีวิต หรือปัญหาของเขาคืออะไร

Why : ทำไมถึงต้องเลือกเรา สิ่งที่ตอบโจทย์และเติมเต็มชีวิตเขาคืออะไร

How : มีวิธีการซื้อสินค้าช่องทางไหน และบริการอะไรบ้าง

เมื่อวิเคราะห์ตัวบุคคลแล้ว จะถูกนำมาต่อยอดในการคิดคอนเทนต์ ว่ามีคอนเทนต์อะไรบ้างที่เหมาะกับ Persona แบบนี้ และจะหยิบนำมาใช้ให้สอดรับกับ Customer Journey ที่กล่าวไปข้างต้น ในระยะต่างๆอย่างไร

สำหรับ Always-on Content จำเป็นมีต้องแกนในการเขียนคอนเทนต์ที่ชัดเจน ดังนั้นจึงต้องสร้าง Content Pillars เพื่อแบ่งสัดส่วนของเนื้อหาที่จะนำเสนอ เพื่อให้คอนเทนตที่ผลิตออกไปมีความหลากหลายทั้งเนื้อหาและรูปแบบ ที่สำคัญคือ ตอบโจทย์วัตถุประสงค์ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เช่น Engagement Awareness เป็นต้น

หลักสำคัญในการสร้าง Content Pillars

คือ การนำเอา Social Experience มาผสมกับ Brand Truth เพื่อให้เกิดเป็น Social Always on ซึ่ง Social Experience ก็นำมาจาก Insight ที่สร้างมาขึ้นจาก Customer Journey และ Customer Personas ในข้างต้น โดยส่วนใหญ่แบรนด์ต่างๆ แบ่ง Content Pillars ออกเป็น 5 เรื่องหลักๆ เช่น



Gags 

คือ คำพูดหรือข้อความประจำวันที่สร้างช่วงเวลาดีๆ ให้กับกลุ่มเป้าหมาย

Good Moment

สร้างช่วงเวลาที่สนุกสนานให้กับกลุ่มเป้าหมายด้วย Quiz หรือ Game ต่างๆ


Trends / Occasion

สร้างเทรนด์หรือโอกาสพิเศษในแบบที่สนุกสนาน รวมไปถึง Real-time Content หรือเรื่องที่เป็นกระแสในขณะนั้น หรือแม้แต่วันสำคัญต่างๆ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม (Engagement) กับกลุ่มเป้าหมายให้มีปฎิสัมพันธ์ร่วมกับแบรนด์

Brands & Knowledge

เนื้อหาเกี่ยวกับแบรนด์และผลิตภัณฑ์ที่พูดในภาษาของกลุ่มเป้าหมาย และในมุมมองของพวกเขา


Value

การนำเสนอความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ ทำให้แบรนด์กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญ ที่กลุ่มเป้าหมายเลือกที่จะเชื่อถือและไว้วางใจ

Campaigns

ข้อมูลเกี่ยวกับแคมเปญ โปรโมชัน หรือกิจกรรมต่างๆ

** สำหรับวิธีการจัดสรร Content Pillars ขึ้นอยู่กับ Strategy ของแบรนด์ว่าต้องการเน้นเรื่องอะไร เช่น แบรนด์ที่ต้องการเน้น Brand Content ก็จะพูดถึงเนื้อหา Product เป็นหลัก และให้สัดส่วนของเปอร์เซ็นมากที่สุด ซึ่งหัวข้ออื่นๆ ก็ลดหย่อนลงมาตามความเหมาะสม

หลังจากที่เราเข้าใจประเภทของคอนเทนต์ในแต่ละประเภทแล้ว เราจะสามารถออกแบบการนำเสนอคอนเทนต์ให้น่าสนใจได้มากมาย โดยรูปแบบของคอนเทนต์หลักๆ ที่นิยมใช้ในยุคนี้ แบ่งเป็น 4 ประเภท ด้วยกัน


01

Text Content

อย่างที่เราเคยเห็นกันตามหน้าเว็บไซต์หรือสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่จะมีการนำเนื้อหาที่น่าสนใจมาจัดเรียงเขียนเป็นบทความ ซึ่งตัวเนื้อหาจะต้องสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา มีความเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน โดยอาจจะมีภาพประกอบที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใส่ไว้ในบทความประกอบด้วยก็ได้

02

Album Content

ในการนำเสนอบทความบางอย่างที่มีเนื้อหาค่อนข้างเยอะ หรือเป็นคอนเทนต์ที่ต้องการให้ผู้อ่านเห็นภาพมากขึ้น เราสามารถนำมาจัดทำเป็น Album จัดทำภาพประกอบหรือ Infographic เพื่ออธิบายข้อมูลเพิ่มเติมให้เข้าใจง่ายขึ้นก็ได้


03

Video / Motion Graphic Content

การทำวิดีโอคอนเทนต์ถือว่าเป็นรูปแบบคอนเทนต์ที่กำลังนิยมในปีที่ผ่านมาค่อนข้างมาก เนื่องจากพฤติกรรมของผู้เสพสื่อโซเชียลหันมาสนใจวิดีโอมากขึ้น การเล่าเรื่องผ่าน Video / Motion Graphic จะสามารถให้ผู้ชมรู้สึกเพลิดเพลินไปกับเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อสารได้เป็นอย่างดี จึงถือว่าเป็นรูปแบบคอนเทนต์ที่น่าสนใจ แต่อาจจะมีต้นทุนในการจัดทำค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรูปแบบอื่นๆ



04

KOLs / Influencer

ปัจจุบันการใช้ KOLs / Influencer มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคค่อนข้างสูง เนื่องจาก Influencer จะสามารถชักจูงหรือสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ได้ การทำคอนเทนต์รูปแบบนี้จึงมักจะนิยมให้ Influencer / Video Creator เป็นกระบอกเสียงให้กับแบรนด์อีกหนึ่งช่องทาง โดยอาจจะนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบของการการให้ความรู้เกี่ยวกับแบรนด์ รีวิวผลิตภัณฑ์ หรือการสร้างแคมเปญร่วมกับแบรนด์ก็สามารถทำได้ ซึ่งคอนเทนต์รูปแบบนี้ จะสามารถกระตุ้นให้เกิดยอดขายได้เป็นอย่างดี



หลายคนอาจจะมองว่าการทำ Always-On Content อาจจะเป็นเรื่องที่เสียเวลาและเปลืองค่าใช้จ่าย แต่อย่างที่เรากล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการทำ Always-On Content นั้นสำคัญเพียงใดและยังช่วยให้แบรนด์เติบโตได้ในหลายๆด้านอีกด้วย 

  1. สามารถสร้าง Brand Awareness ให้กับแบรนด์ได้

  2. เพิ่มโอกาสในการเพิ่มยอดขาย

  3. สามารถพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและแบรนด์ให้ไปในทางที่ดีขึ้น

  4. ช่วยสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์และผลิตภัณฑ์

  5. ดึงดูดความสนใจให้กลุ่มเป้าหมาย สามารถติดตามแบรนด์อย่างต่อเนื่อง

Meet an Expert
ที่ NIPA Digital Agency เราเข้าใจถึงความต้องการของการมีร้านค้าหลายช่องทาง Solution นี้จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อลดปัญหาในเรื่องของการจัดการ การทำงานและระยะเวลา ที่จะช่วยยกระดับธุรกิจของคุณให้ง่ายและสะดวกขึ้น
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเรา ฟรี!